Search
English
All Categories
    Menu Close
    Back to all

    ปัจจัยที่ต้องพิจารณาเมื่อต้อง...เลือกใช้กาว

    เมื่อต้องยึดติดวัสดุต่างชนิดกัน เทปและกาวของ 3M สามารถช่วยแก้ปัญหาท้าทายในงานออกแบบที่พบอยู่เป็นประจำได้ ไม่ว่าจะเป็น

    1. การโค้งงอผิดรูปของพื้นผิว โดยเฉพาะวัสดุที่บาง
    2. ขั้นตอนที่น่าเบื่อหน่าย เช่น การขัดผิวและขัดเงา
    3. ความล้าของจุดต่อรวมกันอยู่ที่จุดเดียว

    การใช้กาวให้เหมาะกับลักษณะงาน จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดและกระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพ คุณสามารถเลือกได้ง่ายๆ โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

    ขั้นตอนที่ 1: ระบุประเภทการใช้งาน

    • เลือกประเภทของกาวและเทปที่จะใช้โดยดูจากรูปร่างบริเวณจุดต่อ

    ขั้นตอนที่ 2: ระบุวัสดุที่จะใช้ยึดติด

    • คำนึงถึงพลังงานพื้นผิวและผิวสัมผัสของวัสดุฐานแต่ละชนิด

    ขั้นตอนที่ 3: ระบุขั้นตอนสำหรับการผลิต

    • ขั้นตอนการผลิตจะมีผลกับอัตราความแข็งแรงของกาวและวิธีใช้งาน

    ขั้นตอนที่ 4: ระบุสภาพแวดล้อมที่จะนำผลิตภัณฑ์ไปใช้จริง

    • เลือกกาวและเทปที่เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่จะนำไปใช้งานจริง

    มารู้จักกับวัสดุและพลังงานพื้นผิวแบบต่างๆ

     
    โลหะ
    • การเติมเต็มช่องว่างและการแยกตัวของวัสดุคือสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการยึดติดโลหะ เทปและกาวจะเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสเพื่อการยึดติดที่แข็งแรงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ โลหะมีพลังงานพื้นผิวสูงจึงยึดติดกับวัสดุอื่นได้ง่าย

     

     
    วัสดุทั่วไป
    • แก้ว ไม้ และเซรามิกสามารถยึดติดได้ง่ายเนื่องจากมีพลังงานพื้นผิวปานกลาง เมื่อนำไปติดกับวัสดุชนิดอื่น เทปและกาวของ 3M จะปรับสภาพตามพลังงานพื้นผิวที่หลากหลายเพื่อให้การยึดติดที่คงทน
     
    พลาสติกวิศวกรรม
    • เป็นพลาสติกที่โดยทั่วไปมีความแข็งแรง เนื้อแข็ง และใช้งานได้ดีที่อุณหภูมิสูง และจะต้องใช้เทปหรือกาวอุตสาหกรรมที่ทนต่ออุณหภูมิและตัวทำละลายเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด
     
    พลาสติก LSE
    • พลาสติกที่มีพลังงานพื้นผิวต่ำ (LSE) จะเกิดการกระจายของกาวได้ยาก ซึ่งทำให้การเลือกประเภทของกาวมีความสำคัญอย่างยิ่ง 3M ได้พัฒนากาวพลาสติกที่ใช้สำหรับยึดติดวัสดุเหล่านี้โดยเฉพาะ

    ยึดติดคงทนโดยไม่ต้องใช้สกรูและหมุด

     
    • ยึดติดอย่างแข็งแรงเมื่อใช้โซลูชั่นการยึดติดของ 3M ที่เหมาะกับงานของคุณ มาดูว่าโซลูชั่นเหล่านี้ช่วยให้ขั้นตอนการประกอบเป็นไปอย่างราบรื่นและทำให้รูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายดีขึ้นได้อย่างไร

       

    Comments
    Write a comment Close
    *