ชุด PPE
PPE ย่อมาจาก Personal protective equipment หรือแปลว่า “อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล” เป็นอุปกรณ์ที่มีไว้ให้ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่เป็นปราการด่านสุดท้าย มีตั้งแต่เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย หมวก แว่นตา หน้ากาก ถุงมือ และอุปกรณ์สวมใส่อื่นๆ ที่ออกแบบมาเพื่อผู้สวมใส่ยังปลอดภัยในขณะทำงาน หรือต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น ป้องกันการบาดเจ็บทางร่างกาย ป้องกันความร้อน ป้องกันเคมี หรือว่าป้องกันแบคทีเรีย หรือละอองต่างๆ ที่อยู่ในอากาศเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ ที่มีความเสี่ยง
ชุด PPE หรือ ชุดป้องกันสารเคมี (Body Protection) ใช้สำหรับป้องกันส่วนต่างๆของร่างกาย กรณีเข้าไปปฏิบัติงานเขตพื้นที่ที่เป็นกรดมีการสวมใส่โดยแบ่งระดับของความรุนแรงของสารเคมีแลเป็นไปตาม ข้อกำหนดของสำนักบริหารการป้องสิ่งแวดล้อมแห่งชาติสหรัฐอเมริกาโดยมีรับความรุนแรงตั้งแต่ระดับ A B C และ D
ลักษณะเด่น
- ชุดปกป้องร่างกายได้รับการรับรองประสิทธิภาพตามมาตรฐานยุโรป CE approved under PPE Directive (89/686/ECC), Category III
- วัสดุที่ผลิตเป็นเส้นใยโพลีโพรโพลีนชนิดไม่ถักทอและเคลือบด้วยโพลีเอทิลีน ปลดปล่อยเส้นต่ำ
- มีคุณสมบัติป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตย์ทั้งสองด้าน
- บริเวณข้อมือเป็นแถบผ้ารัดยืดหยุ่นได้ บริเวณหลังเอวและข้อเท้าเป็นยางยืด เพิ่มความกระชับ เคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัว
- ส่วนคลุมศีรษะประกอบขึ้นจากวัสดุ 3 ชิ้นเย็บเข้าด้วยกัน รองรับกะโหลกศีรษะอย่างพอดี และใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล (PPE) ประเภทต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
- ซิบด้านหน้าเป็นแบบสองทาง (รูดจากบนลงล่างหรือล่างขึ้นบนก็ได้) พร้อมแผ่นปิดมีเทปกาวตลอดแนว
- ขยายเป้ากางเกงเพื่อเพิ่มความทนทาน
- ไม่มีวัสดุที่ผลิตจากซิลิโคน (Silicone) หรือยางธรรมชาติ (Natural rubber latex)
มาตรฐานรองรับ
- CE approved under PPE Directive (89/686/ECC)
- Category III
- Liquid Protection Type 6 – ป้องกันการกระเซ็นของสารเคมีเหลว (EN 13034:2005 + A1:2009)
- Dust Protection Type 5 – ป้องกันอนุภาคของแข็งในอากาศ (EN ISO 13982-1:2004)
- Anti-static เคลือบวัสดุป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ (ทั้งสองด้าน) (EN 1149-1:2006)
- Nuclear ป้องกันอนุภาคกัมมันตรังสี Class 1 (EN 1073-2:2002 Does not offer protection against radiation)
- ป้องกันสารติดเชื้อ Biohazard (EN 14126:2003)
การใช้งาน
- ใช้สวมคลุมทั้งร่างกาย เพื่อปกป้องร่างกายจากฝุ่นอันตราย และการกระเซ็นของสารเคมีเหลว งานตรวจสอบแร่ใยหิน งานสัมผัสฝุ่นถ่านหินในโรงไฟฟ้า งานขัดโลหะ งานทำความสะอาดอาคาร งานซ่อมบำรุงเครื่องจักรและยานยนต์ งานพ่นสี งานทำความสะอาดทั่วไปในอุตสาหกรรม กระบวนการผลิตยา คลีนรูม งานติดตั้งฉนวน งานไม้ งานจัดการผงแป้ง กระบวนการผลิตอาหาร