ค้นหา
ภาษาไทย
สินค้าตามประเภท
    เมนู ปิด
    กลับไปทั้งหมด

    มาตรฐานหมวกนิรภัย

    จากผลรายงานสถิติประจำปี 2558 ของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน จำแนกตามความรุนแรง ปี 2558 มีผู้ได้รับอันตรายจากศีรษะจำนวน 3115 คน มีผู้เสียชีวิตจำนวน 109 คน , หยุดงานเกิน  3 วัน จำนวน 474 คน , หยุดงานไม่เกิน 3 วัน จำนวน 2532 คน ซึ่งตัวเลขที่กล่าวมานี้เป็นจำนวนไม่น้อยที่มีผู้ประสบอันตรายจากศีรษะ เพราะศีรษะมีความสำคัญซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับสมองโดยตรง หากเราไม่ป้องกันให้ดีก็สามารถทำให้เป็นอันตรายได้

    จากหลายข่าวที่ออกมา เช่น คนงานก่อสร้างอเมริกันตลับเมตรตกใส่หัวดับ เหตุไม่สวมหมวกแข็งในไซต์งานก่อสร้าง ไม่มีใครคาดคิด ว่าตลับเมตรหนักแค่ 4 ขีดที่มีโลหะยื่นออกมาได้ปักเข้าที่ศีรษะของคนงานเพียงแค่ชะโงกหน้าออกมาจากหน้าต่างรถขนฝ้าเพดานก็ทำให้เสียชีวิตได้ แค่เรื่องไม่สวมหมวกก็สามารถทำให้เกิดเรื่องใหญ่ได้ หมวกนิรภัยหรือหมวกแข็งจึงถือว่าเป็นหนึ่งความจำเป็นสำหรับพนักงานที่ทำงานเสี่ยงต่อวัสดุตกใส่ศีรษะได้ทุกเมื่อไม่ว่าจะเป็นไซต์ก่อสร้างหรือในโรงงานก็ล้วนสวมใส่เสมอ เพื่อป้องกันวัตถุหรือของแข็งหล่นกระแทกศีรษะและยังสามารถป้องกันผมไม่ให้เข้าไปติดหรือพันกับเครื่องจักรที่กำลังหมุนอยู่อีกด้วย

    ประเภทหมวกนิรภัย

    อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ โดยทั่วไปที่ใช้กันอยู่นั้นก็คือ หมวกนิรภัย แบ่งออกได้ตามลักษณะการใช้งานเป็น 4 ประการด้วยกัน คือ

    1. ประเภท ก. (Class A) เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป เช่น งานก่อสร้าง งานอื่นเพื่อป้องกันวัตถุ หรือของแข็งหล่นกระแทกศีรษะ วัสดุที่ใช้ทำหมวกประเภทนี้เป็นพลาสติก หรือไฟเบอร์กลาส

    2. ประเภท ข. (Class B) เหมาะสำหรับการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับสายไฟแรงสูงและใช้ป้องกันแรงกระแทก วัสดุที่ใช้ทำหมวกคือ วัสดุสังเคราะห์ประเภทพลาสติก และไฟเบอร์กลาส

    3.ประเภท ค. (Class C) ใช้สำหรับงานพิเศษ หรืองานที่ต้องทำในบริเวณที่มีอากาศร้อน วัสดุทำจากโลหะ ใช้เพื่อป้องกันการกระแทกเบา ๆ เช่น เดินชนวัตถุที่อยู่กับที่ โดยทั่วไปจะทำด้วยโลหะ ไม่เหมาะใช้กับงานเกี่ยวข้อง กับประแสไฟฟ้า

    4.ประเภท ง. (Class D) เหมาะสำหรับงานดับเพลิง วัสดุที่ใช้ทำหมวก เป็นอุปกรณ์วัสดุสังเคราะห์ประเภทพลาสติก และไฟเบอร์กลาส วัสดุที่ใช้ทำหมวกประเภทนี้จะมีคุณสมบัติเป็นตัวต้านทานการลุกไหม้ และไม่นำไฟฟ้า

    ส่วนประกอบของหมวกนิรภัย

    1.ชุดรองใน (SUSPENSION) จะประกอบด้วยชิ้นส่วนและอุปกรณ์ส่วนประกอบดังนี้

    • สายคาดศีรษะผลิตจากวัสดุ PE-PVC มีคุณสมบัติเหนียวนิ่มมีความ คงทนต่อแรงกระแทกและการทนต่อการฉีกขาด ปรับขนาดได้จาก 500 มม.ถึง 650 มม.
    • ตัวยึดเปลือกหมวก L R U ผลิตจากวัสดุ PE(POLYETHYLENE) มีคุณสมบัติแข็ง เหนียว และมีความยืดหยุ่นได้ดี
    • สายไนลอน (NYLON WEBBING HARNESS) ผลิตจากวัสดุไนล่อน (NYLON) ขนาด ความกว้าง 25 มม. หนา 1 มม. คุณสมบัติอ่อนตัว และนิ่มเหนียวมีความคงทนต่อการ กระแทกจากเปลือกหมวก (SHELL) ได้ดี
    • แถบซับเหงื่อ (SWEATBAND) ผลิตจากวัสดุผ้าใบ เคลือบด้วยสาร PVC มีคุณสมบัติ อ่อนเหนียวนุ่มมีความคงทนไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง และทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เหงื่อไหลลงมาสู่ใบหน้า

    2.สายรัดคาง (CHINSTRAP) ผลิตจากวัสดุ ELASTIC คุณภาพสูง ความกว้าง 20 มม.ปรับ ความยาวตามขนาดของผู้สวมใส่ ตะขอเกี่ยว ผลิตจากวัสดุ HDPE มีคุณสมบัติแข็งเหนียว

    มาตรฐาน มอก.368-2554 7 สี - ขาว เหลือง

    การทดสอบคุณสมบัติของหมวกนิรภัย

    ได้รับมาตรฐาน มอก.368-2554 โดยผ่านการทดสอบจากสถาบันที่เชื่อถือและได้ผ่านการทดสอบดังนี้

    1. ลักษณะทั่วไป  เปลือกหมวกต้องมีผิวเกลี้ยง ปราศจากเสี้ยน ส้นแหลมคม ไม่แตก ไม่ร้าว

    2. มวล ต้องไม่เกิน 440 กรัม

    3. การลุกไหม้ เปลือกหมวกต้องไม่ติดไฟ แต่หากติดไฟต้องดับเองได้ภายใน 5 วินาที

    4.แรงส่งผ่าน แรงส่งผ่านสูงสุดจากหมวกนิรภัยแต่ละใบไมเกิน 4450 นิวตันและแรงส่งผ่านเฉลี่ยต้องไม่เกิน 3780 นิวตัน

    5.ความต้านทานการเจาะทะลุจากด้านบน ไม่ทะลุถึงศีรษะทดสอบ

    6. สายรัดคาง ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 13 มิลลิเมตร

    7. สายรัดศีรษะ ต้องปรับได้ไม่น้อยกว่า 13 ขนาด ขนาดสายรัดศีรษะ 520 กับ 640 มิลลิเมตร

    วิธีการบำรุงรักษา

    1.ทำความสะอาดหมวกนิรภัยโดยการใช้น้ำและสบู่หรือน้ำยาล้างจาน ในกรณีที่มีคราบสกปรกติดมากๆ

    2.ควรถอดอุปกรณ์รองในออกก่อนทำความสะอาดและความสะอาดชุดรองในไปพร้อมกันด้วย

    3.ไม่ควรใช้สารเคมีหรือสารจำพวกตัวทำลายทำความสะอาดหมวกและชุดรองใน เพราะว่าจะทำให้โครงสร้างของหมวกและชุดรองใน เสื่อมสภาพ

    4.เก็บรักษาหมวกไว้ในที่ๆ ไม่มีแสงแดดจัดจนเกินไป เพราะแสงแดดและอุณหภูมิสูงจะทำให้โมเลกุลของพลาสติกเสื่อมสภาพทำให้หมวก ขาดความแข็งแร

    ข้อแนะนำในการใช้งาน

    1.ABS พลาสติก ปกติจะมีอายุการใช้งานได้นานกว่าพลาสติกชนิดอื่นๆ ที่นำมาผลิตเป็นหมวกนิรภัย

    2.หมวกนิรภัยก่อนใช้ควรตรวจสอบก่อนว่ามีการชำรุดเสียหายก่อนใช้งานทุกครั้ง

    3.อย่านำหมวกนิรภัยที่รุดเสียหายมาใช้งาน

    4.ชิ้นส่วนของหมวกนิรภัย เช่นรองใน หรือสายรัดคาง ควรเปลี่ยนทุก 6 – 12 เดือน

    หมวกนิรภัยที่ดีต้องได้มาตรฐานรับรอง เพราะเมื่อผู้ปฏิบัติงานสวมใส่จะแล้วรู้สึกปลอดภัย และในการเลือกหมวกนิรภัยก็มีความสำคัญ เพราะหมวกมีหลายรูปแบบเราจึงควรเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ทำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ที่สุด

     

    ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : https://www.otintertrade.com/blog-event/article/235-หมวกนิรภัย.html

    ความคิดเห็น
    แสดงความคิดเห็น ปิด
    *